ซุปเปอร์กรีน คุณเขียว แค็ปซูล ฮิวมิก พลัส

SAMSUNG CSC

ผสมน้ำตามอัตราส่วนฉีดพ่นได้ 40-100 ไร่

สารปรับปรุงดิน ช่วยฟื้นฟู  ดินสมบูรณ์  และร่วนซุย  พืชดูดปุ๋ยได้มาก ระบบรากแข็งแรง

 

สารเสริมอาหารสำเร็จรูป สำหรับพืชส่วนประกอบสำคัญ

1.เป็นสารประกอบอินทรีย์ ( โพแทสเซียม ฮิวเมท ) ที่เกิดจากโมเลกุลของสารหลายชนิดรวมตัวกัน เช่น สารในกลุ่มไฮดรอกซิล กลุ่มคาร์บ๊อกซิล และสารกลุ่มอื่นๆรวมกันอยู่ในรูปผง หรือ ผลึกสีดำ

สารประกอบสำคัญ  ฮิวมิค แอซิค ไม่น้อยกว่า 50 %  โพแทสเซียม ( K2O ) ไม่น้อยกว่า 80%

  1. เป็นสารผสมเข้มข้นของสารประกอบ คาร์โบไฮเดรตหลายชนิด กับธาตุอาหารเสริมในรูปของสารคีเลต( Cheleted Micronutrients  ) ใช้ร่วมกับปู๋ยทุกชนิด จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมให้ดีขึ้นมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มแป้งและน้ำตาลให้แก่พืชโดยตรง และรวดเร็วโดยไม่ต้องผ่านขบานการการสังเคราะห์แสงจึงช่วยให้พืช เจริญเติบโตมี ความสมบูรณ์

แข็งแรง ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วหลังการเก็บเกี่ยวหรือช่วงที่พืชขาดแคลนหรือช่วงที พืชต้องการ ปริมาณอาหารสะสมในต้นอย่างมากช่วยแก้ปัญหาต้นโทรมได้

 

คุณสมบัติ

เป็นด่างสามารถละลายน้ำได้  สามารถแลกเปลี่ยนประจุได้  สามารถดูดซับแร่ธาตุได้ มีคุณสมบัติเป็นสารคีเลต  ผสมน้ำราดโคนต้น จะช่วยปรับสภาพดินเหนียวให้คลายตัวออก  ในดินทรายจะช่วยอุ้มน้ำ ทำให้โครงสร้างของดินแข็งแรงทนต่อการชะล้าง กัดกร่อนของน้ำ ช่วยให้ดินโปร่ง ร่วนซุย น้ำและอากาศถ่ายเทสะดวก รากพืชแผ่ขยายได้ง่าย รักษาความเป็นกรด- ด่างไม่ให้เปลี่ยนแปลงเร็ว

 

ประโยชน์ใช้ผสมน้ำราดโคนต้น

1.ช่วยแปลงสารอาหารในดินที่มีอยู่แล้วให้อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ได้ง่าย      เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน

  1. เชื่อมอนุภาคดินให้เป็นกลุ่ม เป็นโครงสร้างดินทีดี ช่วยให้การระบายอากาศ การซึมซับน้ำของดินที่ดี
  2. กระตุ้นให้รากเจริญงอกงามแผ่กระจาย พืชหาอาหารเก่ง
  3. ดินอุ้มน้ำได้มากขึ้น ลดการสูญเสียน้ำในดิน
  4. เมื่อสลายตัวจะปลดปล่อยก๊าซไนโตรเจน กำมะถัน และธาตุอาหารเสริมออกมา เป็นประโยชน์ต่อพืชอย่างช้าๆ

มีลักษณะเป็นผงสีดำหรือน้ำตาลสกัดจากสาหร่ายทะเล อุดมไปด้วยแร่ธาตุสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อดินและพืช ได้รับความนิยมในการนำมาใช้เป็นปุ๋ยในปัจจุบันเป็นอย่างมาก มีอยู่อย่างมากมายในท้องทะเล

 

ประโยชน์

  • ช่วยกระตุ้นการแบ่งเซลของพืช เร่งการแตกตาดอก เพิ่มปริมาณดอก เพิ่มการผสมเกสร เพิ่มการแตกตายอด
  • กระตุ้นการพัฒนาของระบบรากพืช ทำให้มีปริมาณรากเพิ่มขึ้น สามารถดูดซึมปุ๋ย ธาตุอาหาร รวมทั้งน้ำได้ดียิ่งขึ้น ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี ให้ผลผลิตสูง มีความทนทานต่อภาวะแล้ง
  • ช่วยลดสภาวะเครียดและช่วยฟื้นสภาพต้นเมื่อพืชประสบกับสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ร้อนจัด หรือหนาวจัดเกินไป
  • กระตุ้นให้พืชสร้างพลังงานและน้ำตาล เร่งการแบ่งเซล ขยายขนาดของเซล และลดการหลุดร่วงของผล
  • ช่วยปรับปรุงคุณภาพของผลผลิต เช่น ความหวาน ขนาด สีสัน
  • ช่วยชะลอการเก็บเกี่ยวของผลไม้
  • ช่วยรักษาสภาพของพืชผลหลังเก็บเกี่ยว ให้คงความสดอยู่ได้นานกว่าปกติ
  • ช่วยฟื้นสภาพต้นหลังการเก็บเกี่ยว ทำให้ต้นแข็งแรง พร้อมแตกใบชุดใหม่ได้สมบูรณ์ พร้อมออกดอกติดผลได้อย่างรวดเร็ว

ประโยชน์ของเดลแฟนนาโน

  1. ช่วยลดความเครียดของพืช

การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ทำให้พืชเกิดความเครียด และ พืชจะมีกลไกทั้งทางชีวภาพและชีวเคมีในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม กลไลในการตอบสนองของพืชนี้อาจจะนำไปสู่ความเสียหายกับพืช โดยส่งผลกับการเจริญเติบโตของพืชได้

ความเครียดจากสภาพดินฟ้าอากาศ (เช่น ปริมาณน้ำ, แสงแดด, ค่าความเค็ม, ค่าพีเอช, ระดับอุณหภูมิสูงต่ำ, ปริมาณโลหะหนัก, ปริมาณธาตุอาหาร, และ มลภาวะ) หรือ ความเครียดจากสาเหตุอื่นๆ (เช่น ความเสียหายของต้นพืช, การเป็นพิษที่ได้รับจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช, การโดนเชื้อรา/หนอน/หรือแมลงทำร้ายต้นพืช) อาจส่งผลต่อวงจรชีวิตของพืช (เช่น การแตกใบอ่อน การออกดอก การติดผล การสุกของผล)

ความเครียดเหล่านี้อาจส่งผลให้ การเติบโตและการสังเคราะห์โปรตีนของพืชลดลง เป็นผลต่อให้ปริมาณแอมโนเนียสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เป็นพิษกับพืช

การฉีดพ่นกรดอะมิโนเข้าไปจะช่วยให้เกิดการสังเคราะห์โปรตีนในพืช ช่วยลดความเป็นพิษจากแอมโมเนียลง

กลไกในการต้านทานความเครียด

เดลแฟน

การสังเคราะห์โปรตีนต้านความเครียด √√√

การสังเคราะห์เอนไซม์ √√

การช่วยการเคลื่อนย้ายผ่านเยื้อเมมเบรน √√

การช่วยปรับความสมดุลย์ของฮอร์โมน √√

การช่วยสะสมโพลิอะมีน

(โพลิอะมีน เกี่ยวข้องกับการตอบสนองของพืชกับความเครียดจากสิ่งแวดล้อม) √√

ช่วยทำให้ผนังเซลล์แข็งแรง √√

ช่วยกระตุ้นการทำงานของคลอโรฟิลล์ √√

เปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนส์ √√

สารอาหารสำหรับพืช หมายถึง สารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเติบโตของพืช ซึ่งสามารถถูกจัดได้จากเกณฑ์คือ (1) ถ้าเกิดพืชขาดสารอาหารนี้แล้ว ทำให้พืชไม่สามารถวงจรชีวิตได้ตามปกติ หรือ (2) สารนั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของพืชหรือส่วนประกอบของสารตัวกลางในกระบวนการสร้างและสลาย (metabolite)[1]

สารอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช สามารถแบ่งตามปริมาณที่ปรากฏในเนื้อเยื่อพืช ได้เป็น

มหาสารอาหารหลัก (primary macronutrients) ได้แก่ ไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P), และ โปแตสเซียม (K)

มหาสารอาหารรอง (secondary macronutrients) ได้แก่ แคลเซียม (Ca), กำมะถัน (S), แมกนีเซียม (Mg), และ ซิลิคอน (Si)

จุลสารอาหาร (micronutrients) ได้แก่ โบรอน (B), คลอรีน (Cl), แมงกานีส (Mn), เหล็ก (Fe), สังกะสี (Zn), ทองแดง (Cu), โมลิบดีนัม (Mo), นิเกิล (Ni), เซเลเนียม (Se), และ โซเดียม (Na)

มหาสารอาหาร (macronutrients) คือสารอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมาก หรือว่าเป็นสารที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อของพืชในปริมาณมาก (0.2% ถึง 4% โดยน้ำหนักแห้ง) จุลสารอาหาร คือสารที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อของพืชในปริมาณไม่มาก และวัดเป็นหน่วย ppm โดยมีปริมาณอยู่ในช่วงตั้งแต่ 5 ถึง 200 ppm หรือ น้อยกว่า 0.02% โดยน้ำหนักแห้ง

 

พืชสามารถรับสารอาหารทางดินได้โดยการแลกเปลี่ยนประจุ โดยที่รากฝอยจะปล่อยประจุไฮโดรเจน (H+) ลงไปในดิน และประจุไฮโดรเจนนี้จะไปแทนที่ไอออนประจุบวกที่อยู่ในดิน (ซึ่งเป็นประจุลบ) จึงทำให้สารอาหารที่อยู่ในรูปประจุบวกสามารถถูกรากดูดซึมเข้าไปได้

เรื่องของสารอาหารพืชเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยาก ส่วนหนึ่งเนื่องมากจาก ความหลากหลายของชนิดและพันธุ์พืช อีกส่วนหนึ่งเนื่องจากปริมาณสารอาหารที่พืชต้องการเป็นเรื่องละเอียดอ่อน กล่าวคือ พืชต้องการสารอาหารในปริมาณที่เพียงพอและไม่มากเกินไป ถ้าเมื่อพืชได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ จะเกิดอาการขาดสารอาหาร แต่ถ้าได้รับมากเกินไปสารอาหารนั้นก็จะเป็นพิษต่อพืชได้ นอกจากนั้นการขาดสารอาหารบางตัว อาจแสดงผลเหมือนกับการเป็นพิษของการได้รับสารอาหารอีกตัวมากเกินไป การที่พืชได้รับสารอาหารบางตัวมากไปก็ส่งผลทำให้พืชขาดธาตุอาหารตัวอื่นได้ และการได้รับธาตุอาหารบางตัวน้อยไปก็อาจส่งผลต่อการดูดซึมของสารอาหารตัวอื่นได้เช่นกรณีของการที่พืชขาด SO2-3 ทำให้การดูดซึม NO-3 ทำได้ไม่ดี หรือ การที่ NH+4 มีอิทธิพลกับการดูดซึมของ K+

สารอาหารแต่ละชนิดของพืช พืชต้องการในปริมาณที่พอเหมาะหากน้อยไปจะแสดงอาการขาดสารอาหาร หรือ หากได้รับมากเกินไปก็จะเป็นพิษกับพืชได้

กระบวนการที่สำคัญในการดูดซึมสารอาหารของพืช พืชสามารถรับสารอาหารที่จำเป็นได้จากดินโดยผ่านทางราก ได้จากอาหาร (ส่วนใหญ่คือ คาร์บอน กับ ออกซิเจน) โดยผ่านทางใบ

หน้าที่ของสารอาหาร สารอาหารแต่ละตัวมีหน้าที่ต่างๆกัน

คาร์บอน
คาร์บอน ทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของพืช เช่น แป้ง และ เซลลูโลส. พืชได้รับคาร์บอนมากจากการสังเคราะห์แสงโดยรับ คาร์บอนไดออกไซด์มาจากอากาศ และส่วนหนึ่งก็ถูกแปลงเป็นคาร์โบไฮเดรตสำหรับสะสมพลังงาน

ไฮโดรเจน
ไฮโดรเจนเป็นส่วนสำคัญในการสร้างน้ำตาลและการเติบโตของพืช. พืชได้รับไฮโดรเจนส่วนใหญ่จากน้ำ

ออกซิเจน
ออกซิเจนเป็นส่วนสำคัญสำหรับกระบวนการหายใจ. กระบวนการหายใจ สร้างสารให้พลังงาน ATP จากการใช้น้ำตาลที่ได้มาจากกระบวนการสังเคราะห์แสง พืชสร้างออกซิเจนขึ้นในกระบวนการสังเคราะห์แสงเพื่อที่จะสร้างน้ำตาล แต่พืชก็ใช้ออกซิเจนในการกระบวนการหายใจเพื่อเปลี่ยนน้ำตาลเป็น ATP

ฟอสฟอรัส
ฟอสฟอรัสเป็นส่วนสำคัญในระบบพลังงานของพืช เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ATP. การขาดฟอสฟอรัสในพืช จะแสดงให้เห็นจาก การที่ใบพืชมีสีเขียวเข้มจัด ถ้าขาดรุนแรงใบจะผิดรูปร่างและแสดงอาการตายเฉพาะส่วน

โปแตสเซียม
โปแตสเซียมมีบทบาทในการควบคุมการเปิดปิดของรูใบสโตมา (Stoma) ดังนั้นโพแตสเซียมจึงช่วยลดการคายน้ำจากใบและเพิ่มความต้านทานสภาพแล้ง-สภาพร้อน-สภาพหนาวให้กับพืชได้ การขาดโปแตสเซียม อาจทำให้เกิดการตายเฉพาะส่วน หรือเกิดการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis) โพแตสเซียมสามารถละลายน้ำได้ดี จึงทำให้อาจโดยชะล้างออกไปจากดินโดยเฉพาะพื้นที่ลักษณะเป็นหินหรือทราย

ไนโตรเจน
ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของโปรตีนทุกชนิด การขาดไนโตรเจน ส่วนใหญ่แล้วจะแสดงออกมาโดยการชะงักการเติบโตของพืช การเติบโตช้า หรือว่าแสดงอาการใบเหลือง (chlorosis). ทั่วไปแล้ว ไนโตรเจนจะถูกดูดซึมเข้าทางดินในรูปของไนเตรต(NO-3)

กำมะถัน
กำมะถันเป็นส่วนประกอบโครงสร้างของกรดอะมิโนและไวตามีนหลายชนิด และจำเป็นในการกระบวนการสร้างคลอโรพลาสต์.

แคลเซียม
แคลเซียมทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายของสารอาหารต่างๆเข้าสู่พืช และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำงานของเอนไซม์พืชหลายชนิด การขาดแคลเซียม มีผลทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต

แมกนีเซียม
แมกนีเซียมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ และก็มีความสำคัญในกระบวนการสร้างATPโดยทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ (enzyme cofactor). การขาดแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis).

ซิลิคอน
ซิลิคอนจะถูกเก็บไว้ที่ผนังเซลล์ของพืช และจะช่วยทำให้ผนังเซลล์แข็งแรงและยืดหยุ่น

เหล็ก
เหล็กมีความสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชและทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์อีกด้วย การขาดเหล็ก อาจทำให้เกิดอาการเหลืองตามเส้นใบ และ การตายเฉพาะส่วน

โมลิบดีนัม
โมลิบดีนัมเป็นโคแฟกเตอร์ที่สำคัญสำหรับเอนไซม์ที่ใช้ในการสร้างกรดอะมิโน

โบรอน
โบรอนทำหน้าที่สำคัญช่วยในการเชื่อมต่อของเพกตินเข้ากับRGII regionของผนังเซลล์หลัก และโบรอนยังทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนย้ายน้ำตาล ในการแบ่งเซลล์ และในสร้างเอนไซม์หลายๆชนิด การขาดโบรอนทำให้เกิดการตายเฉพาะส่วนในใบใหม่และการชะงักการเติบโตของพืช

ทองแดง
ทองแดงมีความสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสง การขาดทองแดงทำให้พืชแสดงอาการเหลือง (chlorosis)

แมงกานีส
แมงกานีสมีความสำคัญในการสร้างคลอโรพลาสต์การขาดแมกกานีส ทำให้พืชมีสีผิดเพี้ยน เช่น การมีจุดด่างบนใบ

โซเดียม
โซเดียมเกี่ยวข้องกับการสร้างphosphoenolpyruvate]ของพืชที่เป็น CAM (Crassulacean acid metabolism plant) และ C4 (C4 carbon fixation plant)

สังกะสี
สังกะสีเป็นส่วนสำคัญสำหรับเอนไซม์หลายชนิดและเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรม (DNA transcription). การขาดสังกะสี โดยทั่วไปแล้วจะทำให้การเติบโตของใบชะงักงัน

นิกเกิล
สำหรับพืชมีท่อน้ำเลี้ยง (vascular plant) นิกเกิลมีความสำคัญในการทำงานของเอนไซม์ยูเรส (urease) ซึ่งพืชใช้ในการจัดการกับยูเรีย สำหรับพืชไม่มีท่อน้ำเลี้ยง (non-vascular plant) นิกเกิลมีความสำคัญในการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด[6]คลอรีน

 

คลอรีนมีความสำคัญในกระบวนการออสโมซิส (osmosis) และ การรักษาสมดุลของประจุ และยังทำหน้าที่สำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสงด้วย [แก้] ตารางสารอาหารพืช[4] สารอาหาร สัญญลักษณ์ ปริมาณในพืช หน้าที่ ขาด/เกิน อาการที่สังเกตได้ ไนโตรเจน N 100 ส่วนประกอบของ โปรตีนและกรดอะมิโน ขาด ใบเหลือง โดยเฉพาะใบแก่; การเติบโตของพืชชะงักงัน; ผลเติบโตไม่ดี เกิน ใบเขียวเข้ม แต่อาจเสี่ยงกับอาการโคนต้นงอ (lodging) หรืออ่อนแอต่อภาวะแล้ง โรคพืช และแมลง; พืชอาจไม่ค่อยให้ผล ฟอสฟอรัส P 6 ส่วนประกอบของกรดนิวคลีอิกและATP ขาด ใบอาจเป็นสีม่วง; การเติบโตของพืชชะงักวันหรือช้า เกิน พืชที่ได้รับฟอสฟอรัสในปริมาณมากเกินไป อาจเกิดอาการขาดจุลสารอาหาร เช่น เหล็ก หรือ สังกะสี โปแตสเซียม K 25 ทำหน้าที่เป็น catalyst, ion transport ขาด ใบแก่จะเหลืองโดยเริ่มจากขอบใบก่อนแล้วใบจะตาย; ผลเติบโตไม่ปกติ เกิน พืชที่ได้รับโปแตสเซียมในปริมาณมากเกินไป อาจเกิดอาการขาดแมกนีเซียม หรืออาจขาดแคลเซียมด้วย แคลเซียม Ca 12.5 ส่วนประกอบของผนังเซลล์ ขาด พืชเติบโตช้าลง และหน่อใหม่ตาย; ผลเติบโตไม่ดี เกิน พืชที่ได้รับแคลเซียมในปริมาณมากเกินไป อาจเกิดอาการขาดแมกนีเซียมหรือโปแตสเซียมแมกนีเซียม Mg 8 ส่วนประกอบของคลอโรฟิลล์ ขาด จะเกิดอาการเหลืองที่ใบแก่ก่อนโดยจะเหลืองระหว่างเส้นใบ ต่อมาอาการจะลามไปที่ใบอ่อนด้วย  ผลเติบโตไม่ดีและออกน้อย เกิน ปริมาณแมกนีเซียมที่ไม่สมดุลกับปริมาณโปแตสเซียมและแคลเซียมและทำให้พืชเติบโตช้า กำมะถัน S 3 ส่วนประกอบของกรดอะมิโน ขาด จะเกิดอาการเหลืองที่ใบอ่อนก่อนแล้วจะกระจายไปทั่วทั้งต้น; อาการจะคล้ายกับการขาดไนโตรเจน แต่จะเกิดกับส่วนที่เติบโตใหม่ก่อน เกิน ใบร่วงก่อนเวลา เหล็ก Fe 0.2 ทำหน้าที่ในการสร้างคลอโรฟิลล์ ขาด อาการเกิดจุดเหลืองหรือขาวตามเส้นใบของใบอ่อน เกิน ใบเป็นสีน้ำตาล หรือ เป็นจุดสีน้ำตาลขึ้น โบรอน B 0.2 ส่วนประกอบของผนังเซลล์ ขาด ยอดตาย; ใบผิดรูปร่างและมีรอยสีด่าง เกิน ปลายใบจะเหลืองและอาจมีอาการตายเฉพาะส่วนตามมา; ใบไหม้และร่วง แมงกานีส Mn 0.1 ทำหน้าที่กระตุ้นเอนไซม์ ขาด ใบแก่จะมีวงด่างสีเหลืองหรือขาวขึ้น และ อาจมีจุดสีน้ำตาลขึ้นอยู่ในวงด่างด้วย เกิน ใบอ่อนจะเหลืองระหว่างเส้นใบ; ใบจะมีขนาดเล็กกว่าปกติ สังกะสี Zn 0.03 ทำหน้าที่กระตุ้นเอนไซม์ ขาด อาการเหลืองระหว่างเส้นใบในใบอ่อน; ใบมีขนาดเล็กกว่าปกติ เกิน พืชที่ได้รับสังกะสีในปริมาณมากเกินไป อาจเกิดอาการเหล็กได้

หมายเหตุ ปริมาณในพืช แสดงเป็น เปอร์เซนต์เปรียบเทียบกับปริมาณไนโตรเจนในพืชที่ปรากฏในหน่อแห้ง และ ปริมาณสารอาหารในพืช อาจเปลี่ยนแปลงตามชนิดของพืช

เซลล์ คือโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต เช่นเดียวกับโมเลกุลเป็นหน่วยพื้นฐานของ      สารเคมี  สามารถแบ่งเซลล์พืชเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือผนังเซลล์ (Cell wall) และโปรโตพลาสต์ (Protoplast) ซึ่งประกอบด้วยนิวเคลียส (Nucleus) และไซโตพลาสต์ (Cytoplasm) ภายใน            ไซโตพลาสต์มีอวัยวะภายในเซลล์หลายชนิด (Cell organelles) และเซลล์พืชที่เจริญเต็มที่แล้วมักมีแวคคิวโอ (Vacuole) ใหญ่ ขนาดและรูปร่างของผนังเซลล์จะแตกต่างกันไปตามชนิดและหน้าที่ของเซลล์นั้น                         ส่วนประกอบทางเคมีที่สำคัญของเซลล์  คือ น้ำประมาณ 80-95 เปอร์เซ็นต์ของ   น้ำหนักสดที่เหลือเป็นโปรตีน  กรดนิวคลีอิค  (Nucleic  acid)  โพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharides) และไขมัน ซึ่งมีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบมากที่สุด  นอกจากนั้นมีธาตุไฮโดรเจน    ออกซิเจน   ไนโตรเจน   ฟอสฟอรัส   กำมะถัน   โปแตสเซียม  แมกนีเซียม และคลอรีน เป็นต้น สามารถแบ่งเซลล์พืชเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่มคือ

  1. กลุ่มของเซลล์ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมตาบอลิสม์ของพืช
  2. กลุ่มของเซลล์ที่มีหน้าที่เป็นส่วนค้ำจุนหรือเป็นท่อให้สารต่าง ๆ ไหลผ่าน  กลุ่มนี้มักเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว

ในบทนี้จะกล่าวถึงกลุ่มเซลล์กลุ่มแรกเท่านั้น  เพราะเป็นเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่สำคัญทางสรีรวิทยาของพืช      โดยทั่วไปเซลล์พืชจะประกอบด้วยผนังเซลล์และ    โปรโตพลาสต์ (Cell Wall และ Protoplasm) เซลล์ที่เรียงกันเป็นเนื้อเยื่อนั้น อาจจะเรียงกันอย่างหลวม ๆ ทำให้มีส่วนช่องว่างระหว่างเซลล์ (Intercellular  Space) เกิดขึ้น แต่ในกรณีของเนื้อเยื่อเจริญ (Meristem) เซลล์จะเรียงกันเบียดชิดมาก  ไม่เกิดช่องว่างระหว่างเซลล์  ช่องว่างเหล่านี้มักจะต่อไปจนถึงปากใบของพืช  ทำให้อากาศผ่านปากใบ  และต่อเนื่องไปยังเซลล์ต่าง ๆ ได้ทั้งระบบ  ทำให้แต่ละเซลล์ได้รับออกซิเจน  และคาร์บอนไดออกไซด์เพียงพอ

พลาสโมเดสมาตา  (Plasmodesmata) เป็นช่องทางที่เชื่อมต่อระหว่างเซลล์ที่อยู่ติดกัน การปรากฏของพลาสโมเดสมาตาและช่องว่างระหว่างเซลล์ ทำให้ระบบของพืชประกอบด้วยส่วนประกอบใหญ่ ๆ สองส่วน คือ

  1. ซิมพลาสต์ (Symplast) ซึ่งเป็นส่วนของพืชที่ประกอบด้วย ส่วนที่มีชีวิตเป็นส่วนที่อยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) หรือส่วนของโปรโตพลาสต์ทั้งหมด
  2. อะโพพลาสต์ (Apoplast) เป็นส่วนที่ไม่มีชีวิตของพืช อยู่ข้างนอกเยื่อหุ้มเซลล์ เช่น ส่วนของผนังเซลล์ ช่องว่างระหว่างเซลล์ ลูเมน (Lumen) และท่อน้ำท่ออาหาร (Xylem และ Phloem)

ส่วนประกอบและอวัยวะภายในเซลล์พืช

  1. ผนังเซลล์ (Cell Wall)  เป็นส่วนที่อยู่ภายนอกเยื่อหุ้มเซลล์ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตเป็นจำนวนมาก     เมื่อสร้างใหม่ ๆ ผนังเซลล์จะมีลักษณะบาง  ต่อมาจะหนาขึ้นเพราะมีการสะสมสารต่าง ๆ โดยชั้นใหม่ที่เกิดจะติดกับส่วนของเยื่อหุ้มเซลล์    ทำให้ชั้นเก่าถูกดันห่างออกจากโปรโตพลาสต์ ชั้นใหม่นี้เรียกว่าผนังเซลล์ชั้นที่สอง (Secondary  Cell Wall) ซึ่งจะมีความหนาไม่เท่ากันตลอด  ทำให้เกิดลักษณะที่เป็นรูเปิด  เพื่อให้สารต่าง ๆ เคลื่อนผ่านได้เรียกว่า พิท (Pit)      ผนังเซลล์มีส่วนประกอบทางเคมีที่สำคัญ คือ

1.1. ไมโครไฟบริลลา โพลีแซคคาไรด์  (Microfibrillar Polysaccharides)  ซึ่งกลุ่มที่พบมากที่สุด  คือ เซลลูโลส (Cellulose)  และไคติน (Chitin)

1.1.1. เซลลูโลส    เป็นลูกโซ่ของ ดี-กลูโคส (D-glucose) ซึ่งเรียงตัวเกาะกันแบบ b-1,4-glycosidic bond ซึ่งมีความยาวต่างกันไป      แต่โดยปกติจะมีกลูโคสอยู่ประมาณ 2,000-14,000 หน่วย   ยาวประมาณ 1-7 mm และจับกับลูกโซ่ข้างเคียงด้วยแขนแบบไฮโดรเจน (Hydrogen bond)   ทำให้เกิดเป็นลักษณะที่เรียกว่า ไฟบริล (Fibrils)  ซึ่งหนาไม่เกิน 250o A และยาวหลายไมโครเมตร แต่ละไฟบริลจะเรียงต่อกันด้วยไฮโดรเจนบอนด์ ซึ่งทำให้เกิดการติดกันขึ้นมา เซลลูโลสจะฝังตัวอยู่ในของเหลวที่มีรูปร่างไม่แน่นอนเรียกแมทริกซ์  โพลีแซคคาไรด์     ส่วนของไฟบริลจะทนต่อการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์และสารเคมี   ผนังเซลล์จึงมีหน้าที่ป้องกันอันตรายและเพิ่มความแข็งแรงให้กับเซลล์ พืชในพืชชั้นต่ำที่มีเซลลูโลสน้อย เช่น เชื้อราจะมีไคติน (Chitin) ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป

1.1.2. ไคติน   เป็นส่วนประกอบที่พบมากในผนังเซลล์ของเชื้อรา และเป็นส่วนประกอบของสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง โมเลกุลของไคตินจะเรียงต่อกันยาว โดยไม่แตกสาขา สารประกอบทางเคมีเป็นพวก N-acetyl-D-glucosamine โดยเกาะกันแบบ b-1,4-glycosidic bond     ทำให้เกิดเป็นไฟบริลเช่นเดียวกับเซลลูโลส

1.2.  แมทริกซ์ โพลีแซคคาไรด์ (Matrix Polysaccharides)     ส่วนนี้จะประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ เฮมิเซลลูโลส (Hemicellulose) และเพคติน (Pectin) ซึ่งแยกออกจากกันโดยคุณสมบัติในการละลายน้ำเพราะเพคตินนั้นสามารถแยกได้โดยการต้มกับน้ำเป็นเวลานาน แต่เฮมิเซลลูโลสนั้นต้องแยกโดยใช้โปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ แมทริกซ์ โพลีแซคคาไรด์มีลักษณะเป็นของเหลวที่มีรูปร่างไม่แน่นอน ทำหน้าที่หุ้มห่อส่วนของไมโครไฟบริลลา โพลีแซคคาไรด์

1.2.1. เฮมิเซลลูโลส    ชื่อของเฮมิเซลลูโลสนั้นใช้เรียกเมื่อพบโพลีแซคคาไรด์ชนิดนี้ใหม่ ๆ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นสารเริ่มต้นที่จะทำให้เกิดเซลลูโลส                ซึ่งในปัจจุบันพบว่าไม่จริงเฮมิเซลลูโลสประกอบด้วย  ไซแลนซ์  (Xylans)   ซึ่งมีน้ำตาลไซโลส (Xylose) แมนแนน (Mannans) ซึ่งมีน้ำตาลแมนโนส (Mannose) และกาแลกแตน (Galactans) ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลกาแลคโตส (Galactose)

นอกจากนั้นยังมีกลูโคแมนแนน ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลแมนโนส ไซโลกลูแคน ประกอบด้วยน้ำตาลไซโลสและน้ำตาลกลูโคส และแคลโลส (Callose)    จัดเป็น เฮมิเซลลูโลสซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคสที่เกาะกันแบบ   b-1,3-glycosidic bond ซึ่งจะพบบริเวณปลายเซลล์ของท่ออาหาร (Sieve tubes)

1.2.2. เพคติน  ทำหน้าที่เชื่อมให้เซลลูโลสติดกัน    เป็นส่วนประกอบที่มีมากในส่วนมิดเดิลลาเมลลา (Middle lamella)  นอกจากนั้นเพคตินยังเกิดในน้ำผลไม้ต่าง ๆ  สารเคมีที่พบในเพคตินคือกรดแอลฟา ดี กาแลคตูโรนิค (µ-D-galacturonic acid) อะราบิแนนส์ (Arabinans) และกาแลคแตนส์ (Galactans)

1.3. ลิกนิน (Lignins)     การเกิดลิกนินในพืชมักจะควบคู่ไปกับเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ค้ำจุน และท่อน้ำท่ออาหาร จะพบในผนังเซลล์ทุติยภูมิ ซึ่งตายแล้ว การเกิดลิกนินทำให้เซลล์แข็งแรง ทำให้ไฟบริลไม่เคลื่อนที่และป้องกันอันตรายให้ไฟบริลด้วย อาจจะพบลิกนินในเนื้อผลไม้บางชนิด เช่น ฝรั่งและละมุด ลิกนินประกอบด้วยสารเคมีที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง พวกฟีโนลิคส์ (Phenolics) ลิกนินทำให้เซลล์เกิดความแข็งแรงมากขึ้นและต้านทานต่อสารเคมีและการกระทบกระแทกต่างๆ

1.4. โปรตีน   ในการพบโปรตีนในผนังเซลล์นั้นระยะแรกเข้าใจว่าเกิดจากการปนเปื้อนมาจากส่วนของไซโตพลาสต์ (Cytoplasm)   แต่ในปัจจุบันได้มีการสรุปแน่ชัดแล้วว่า ในเซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตจะมีโปรตีนในผนังเซลล์ ประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์   ซึ่งประกอบด้วยเอนไซม์พวกไฮโดรเลส (Hydrolases) กลูคาเนส (Glucanase) เพคติน เมทธิลเอสเตอเรส (Pectin Methylesterase) และเอทีพีเอส (ATPase)  เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีโปรตีนที่เป็นโครงสร้างเป็นพวกไกลโคโปรตีน (Glycoprotein)  ซึ่งประกอบด้วยไฮดรอกซีโพรลีนเป็นส่วนใหญ่   (Hydroxyproline)   โดยเกาะกับโพลีแซคคาไรด์แบบ Non Covalent bond

1.5. น้ำ เป็นส่วนประกอบที่พบในส่วนของเพคตินที่มีลักษณะเป็นวุ้น  (Gel) และยังทำหน้าที่ลดปริมาณของไฮโดรเจนบอนด์ที่เกาะกันระหว่างไฟบริลและเฮมิเซลลูโลส ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำจะทำให้การติดกันของไฟบริลกับเฮมิเซลลูโลสเปลี่ยนไปและน้ำยังเป็นตัวทำละลายสารเคมีในผนังเซลล์ด้วย     โดยเฉพาะขณะที่เซลล์ขยายตัว

1.6. ส่วนที่หุ้มห่อภายนอก (Incrusting Substances)    สิ่งที่หุ้มห่อข้างนอกของผนังเซลล์ของเซลล์ผิว (Epidermis) จะเป็นสารพวกคิวติเคิล (Cuticle) เพื่อช่วยลดการสูญเสียน้ำ หรือรับน้ำเพิ่มมากขึ้นและยังป้องกันอันตรายจากสารเคมีและเชื้อจุลินทรีย์ได้ด้วย     นอกจากนั้นยังมีสารประกอบอนินทรีย์บางชนิดพบในผนังเซลล์ของพืชบางชนิด   สารเหล่านี้ เช่น แคลเซียมคาร์บอเนตและแคลเซียมซิลิเกต เป็นต้น

สามารถแบ่งผนังเซลล์ออกได้ เป็น 3 ชนิด ด้วยกันคือ

  1. ผนังเซลล์ชั้นที่หนึ่งหรือผนังเซลล์ปฐมภูมิ (Primary Cell Wall) เกิดขึ้นหลังจากที่เซลล์หยุดการขยายตัวแล้ว จะทำหน้าที่หุ้มห่อเยื่อหุ้มเซลล์อยู่อีกทีหนึ่ง
    2. ผนังเซลล์ชั้นที่สองหรือผนังเซลล์ทุติยภูมิ (Secondary Cell Wall) คือผนังเซลล์ที่อยู่ระหว่างผนังชั้นที่หนึ่ง และเยื่อหุ้มเซลล์ ประกอบด้วยเซลลูโลสและลิกนินเป็นส่วนใหญ่
    3. มิดเดิลลาเมลลา คือ    ส่วนที่เป็นผนังร่วมของเซลล์สองเซลล์ที่อยู่ติดกันเป็นส่วนของผนังเซลล์ที่เกิดขึ้นในขณะที่เซลล์แบ่งเป็นสองเซลล์ ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมเซลล์สองเซลล์ให้ติดกัน ประกอบด้วยสารเพคติน
  2. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) เป็นส่วนของเซลล์ที่หุ้มห่ออวัยวะต่าง ๆ ไว้ภายใน ทำหน้าที่ในการควบคุมการไหลผ่านของสารละลาย โดยมีคุณสมบัติในการเลือกสารให้ผ่านเข้าออก (Selective  Permeability)        จากการศึกษาทางกล้องจุลทรรศน์อีเลคตรอน พบว่า เยื่อหุ้มเซลล์จะหนาประมาณ 75-100 ํA ประกอบด้วยชั้นของโปรตีนและไขมัน  3  ชั้น รวมเรียกว่า Unit Membrane  ซึ่งโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์นี้เรียกว่า Fluid Mosaic Model เนื่องจากมีลักษณะไม่สม่ำเสมอ  โครงสร้างนี้ประกอบด้วยชั้นของไขมัน 2 ชั้น   ไขมันเหล่านี้เป็น ฟอสโพลิพิท ไกลโคลิพิท และสเตอรอล (Phospholipid,Glycolipid และ Sterol)  ไขมันดังกล่าวจะมีส่วนที่เป็นไฮโดรโฟบิก (Hydrophobic)  หันเข้าหากันภายใน และส่วนที่เป็นไฮโดรฟิลิกอยู่ข้างนอก (Hydrophilic) ไขมันจึงมีลักษณะเป็นสองชั้น (Bilayer)  ไขมันจะเป็นทางผ่านของไขมันและสารที่ละลายในไขมัน

ส่วนโปรตีนที่อยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์แบ่งเป็นสองชนิด     คือ   เพอริเฟอรัล (Peripheral) และอินตริกัล (Intrigal) และเนื่องจากโปรตีนชนิดเพอริเฟอรัลจะถูกกำจัดออกจากเยื่อหุ้มเซลล์ได้โดยใช้สารละลายของเกลือแกง เข้มข้น 1 โมลาร์ ดังนั้นจึงเข้าใจว่าโปรตีนชนิดนี้อยู่รอบ ๆ  ชั้นของไขมัน  ส่วนโปรตีนอินตริกัลจะอยู่ภายในชั้นของไขมัน โดยอาจจะฝังอยู่เพียงครึ่งหนึ่งของชั้นไขมัน หรือตลอดชั้นของไขมันก็ได้  โปรตีนจะช่วยให้เยื่อหุ้มเซลล์คงรูปอยู่ได้ และเป็นทางผ่านของน้ำและสารละลายในน้ำ

เยื่อหุ้มเซลล์จะมีคุณสมบัติพิเศษที่แต่ละข้างของเยื่อหุ้มเซลล์ จะมีคุณสมบัติต่างกันเพราะมีโปรตีนต่างชนิดกัน และเยื่อหุ้ม (membrane) ของอวัยวะภายในเซลล์ชนิดเดียวกันจะเกิดการรวมกันได้ เช่น ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria)  2  หน่วยจะรวมกันได้ แวคคิวโอ  (Vacuole) 2 หน่วยก็จะรวมกันได้ เป็นต้น  การรวมกันได้นี้เกิดจากการที่โปรตีนของเยื่อหุ้มอวัยวะ แต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติเหมือนกัน

เยื่อหุ้มเซลล์  เป็นโครงสร้างที่ไม่หยุดนิ่ง สามารถเคลื่อนที่ได้  โดยจะมีการเคลื่อนที่ได้ดีในแนวระนาบ  (Lateral  Diffusion)    ส่วนการเคลื่อนที่ตามแนวตั้ง (Transverse Diffusion) จะเกิดได้ช้าและน้อย

  1. พลาสติด (Plastid) พลาสติดเป็นอวัยวะภายในเซลล์พืช ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายชนิด เช่น คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) เป็นพลาสติดซึ่งมีรงควัตถุสีเขียว ซึ่งเรียกว่า คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) โครโมพลาสต์ (Chromoplast) มีรงควัตถุสีเหลือง ส้ม และแดง ซึ่งเรียกว่า คาร์โรทีนอยส์ (Carotenoids) และอะมัยโลพลาสต์ (Amyloplast) ทำหน้าที่สะสมแป้ง เป็นต้น

3.1. คลอโรพลาสต์ เป็นอวัยวะภายในเซลล์พืชที่มีขนาดใหญ่  มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-10 mm พบมากในเซลล์ของเนื้อเยื่อชั้นพาลิเสด (Palisade) และ   สปอนจี (Spongy)  ของใบพืช โดยพบประมาณ  300-400  หน่วยในพาลิเสดและ 200-300  หน่วยในสปอนจี นอกจากนั้นยังพบในเซลล์คุม (Guard  cell)  และเซลล์ผิว (Epidermis) นอกจากนั้นยังพบในเซลล์ที่มีสีเขียวอื่น ๆ แต่ไม่พบในเนื้อเยื่อเจริญเพราะในเนื้อเยื่อเจริญจะพบโปรพลาสติด (Proplastid) ซึ่งมีขนาดเล็กและไม่มีสีหรือสีเขียวอ่อน ๆ ซึ่งต่อไปจะเจริญเป็นพลาสติดชนิดต่าง ๆ คลอโรพลาสต์ประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น คือ ชั้นนอก (Outer membrane) และเยื่อหุ้มชั้นใน (Inner membrane) ลักษณะภายในของคลอโรพลาสต์จะมีโครงสร้างที่เรียกรวม ๆ ว่า คลอโรพลาสต์        ลาเมลลา (Chloroplast lamella)  ซึ่งจมอยู่ในของเหลวที่เป็นโปรตีนเรียกว่า สโตรมา (Stroma) หน่วยย่อยของโครงสร้างภายในเป็นถุงล้อมรอบด้วยเยื่อหุ้มชั้นเดียวเรียกว่า  ไธลาคอยด์ซึ่งเป็นถุงแบน ๆ เกิดจากการขดตัวของเยื่อหุ้มชั้นใน  (Invagination)  แล้วหลุดออกไป  ไธลาคอยด์จะซ้อนกันเกิดเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า กรานา (Grana) โดยทั่วไป 1 กรานาประกอบด้วยไธลาคอยด์ 10-100 หน่วย และในแต่ละคลอโรพลาสต์มีกรานา 40-60 หน่วย แต่ละกรานาจะต่อเชื่อมโยงกันด้วยเยื่อหุ้ม        ชั้นเดียวเรียกว่า เฟรต (Fret) ไธลาคอยด์มี 2 ขนาด   ขนาดใหญ่เรียกว่า สโตรมาไธลาคอยด์ (Stroma thylakoids)  และขนาดเล็กเรียกว่า  กรานาไธลาคอยด์ (Grana thylakoids)  บริเวณกรานาจะมีรงควัตถุคลอโรฟิลล์       เอนไซม์ ATPsynthase และโครงสร้างขนาดเล็กประมาณ    100-200 ํA ฝังอยู่ที่เยื่อหุ้มของกรานาเรียก Elementary particle      ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย     อีเลคตรอนในการสังเคราะห์แสง ภายในสโตรมาจะพบเม็ดแป้งและเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แสง

คลอโรพลาสต์มีหน้าที่ในการสังเคราะห์แสงโดยมีการสร้างคาร์โบไฮเดรตในสโตรมา และสร้าง ATP และ NADPH ในไธลาคอยส์  คลอโรพลาสต์เป็นอวัยวะภายในเซลล์ที่มี DNA และ RNA ดังนั้นการสร้างโปรตีนจึงเกิดได้เองในอวัยวะส่วนนี้  นอกจากนั้นยังมีไรโบโซม แต่มีขนาดเล็กกว่าไรโบโซม (Ribosome) ของเซลล์

3.2. โครโมพลาสต์ (Chromoplast)  เป็นพลาสติดที่มีรงควัตถุสีเหลือง ส้มและแดง ซึ่งเป็นพวก Carotenoids ปรากฏอยู่ในดอกทำให้เกิดสีดึงดูดแมลง ผลและราก เป็นต้น   โครโมพลาสต์สามารถเกิดจากคลอโรพลาสต์ได้เมื่อคลอโรพลาสต์ได้รับเอทธิลีนหรือ ABA และโครโมพลาสต์   อาจจะกลับคืนเป็นคลอโรพลาสต์ได้ในกรณีที่โครโมพลาสต์ได้รับจิบเบอเรลริล หรือไซโตไคนิน (Gibberellins หรือ Cytokinins)

3.3. อะมัยโลพลาสต์ (Amyloplast)        เป็นพลาสติดที่ทำหน้าที่เก็บสะสมอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต พบมากในส่วนที่สะสมอาหาร เช่น  ใบเลี้ยงและเอนโดสเปิร์ม (Endosperm) และพืชหัวต่าง ๆ เป็นอวัยวะที่ล้อมรอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น นอกจากทำหน้าที่สะสมอาหารแล้ว ยังเกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อแรงดึงดูดของโลกด้วย

3.4. อีธิโอพลาสต์ (Etioplast)  เป็นพลาสติดที่พัฒนาขึ้นมาโดยไม่ได้รับแสงพบในพืชที่สีขาวซีดและในใบเลี้ยงของเมล็ดที่งอกก่อนที่จะได้รับแสง  อีธิโอพลาสต์จัดเป็นระยะหนึ่งของการพัฒนาของพลาสติด เพื่อจะกลายเป็นคลอโรพลาสต์ต่อไป       ภายในอวัยวะชนิดนี้จะมีรงควัตถุ คาร์โรทีนอยส์อยู่เล็กน้อยและมีโครงสร้างที่เรียกว่าโปรลาเมลลา บอดีส์ (Prolamella Bodies) อยู่ประมาณ 1-4 หน่วย  เมื่อได้รับแสงอีธิโอพลาสต์จะเปลี่ยนไปเป็นคลอโรพลาสต์

  1. ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria)

ไมโตคอนเดรียเป็นอวัยวะที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้อย่างรวดเร็ว  และสามารถแบ่งตัวได้ด้วยทำให้ประเมินขนาดและรูปร่างได้ยาก แต่โดยทั่วไปมักมีรูปร่างเป็นแท่งและมีขนาดเฉลี่ยยาว 3-5 mm และกว้าง 0.5-1.0 mm และมีจำนวนตั้งแต่ 20-105 หน่วยต่อเซลล์ ไมโตคอนเดรียประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น โดยที่เยื่อหุ้มชั้นนอก (Outer membrane) มีลักษณะหนากว่าเยื่อหุ้มชั้นใน (Inner membrane)  เยื่อหุ้มทั้งสองชั้นแยกออกจากกันโดยความกว้าง  60-100 ํA  เยื่อหุ้มชั้นในจะขดตัว (Invagination)  เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวให้มากขึ้น  การขดตัวทำให้เยื่อหุ้มชั้นในพับเป็นแท่งขึ้นมาเรียกว่าซิสตี (Cristae) ซึ่งปริมาณการขดตัวนี้จะขึ้นอยู่กับกิจกรรมของไมโตคอน-      เดรีย  ถ้ามีมากก็จะมีซิสตีมากไปด้วย ภายในไมโตคอนเดรียมีของเหลวเรียกว่า แมททริกซ์ (Matrix)     ซึ่งประกอบด้วยโปรตีนและไขมัน ซึ่งมีความหนาแน่นและเข้มข้นต่าง ๆ กันไป ภายในแมททริกซ์มีไรโบโซม (Ribosome) และ DNA อยู่ ไมโตคอนเดรียจึงสามารถสร้างโปรตีนได้เองที่เยื่อหุ้มชั้นในจะมีโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของอีเลคตรอน และกระบวนการ Oxidative Phosphorylation และมีโครงสร้างที่เรียกว่า Elementary particle  ฝังตัวอยู่ทำหน้าที่สร้าง ATPsynthase เพราะมีเอนไซม์ ATPase อยู่ภายใน

ในการแบ่งเซลล์แบบไมโตซิส (Mitosis)  ของเนื้อเยื่อเจริญนั้นพบว่าเซลล์ที่เกิดใหม่จะมีปริมาณไมโตคอนเดรียเพิ่มมากขึ้น      ซึ่งการเพิ่มนี้เกิดจากไมโตคอนเดรียสามารถแบ่งตัวได้เป็นอิสระจากการแบ่งนิวเคลียสเพราะมี DNA เป็นของตัวเอง

  1. นิวเคลียส (Nucleus) เป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่โดยจะมีขนาดตั้งแต่ 2 ไมโครเมตร ในยีสต์ จนถึง 8 ไมโครเมตรในพืชชั้นสูง ในเนื้อเยื่อเจริญนิวเคลียสจะกลมมีขนาดใหญ่มากอาจมีเนื้อที่ 75 เปอร์เซ็นต์ของเซลล์      ต่อมาเมื่อเซลล์โตขึ้น นิวเคลียสจะแบนลงและอาจเลื่อนไปติดกับผนังเซลล์    นิวเคลียสล้อมรอบโดยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น     เยื่อหุ้มนิวเคลียสจะมีรูประมาณ  8 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด    เยื่อหุ้มชั้นนอกและชั้นในของนิวเคลียสจะมารวมกันที่บริเวณรูนี้      รูเหล่านี้มีหน้าที่ให้สารต่าง ๆ ผ่านระหว่างไซโตพลาสต์ และนิวเคลียส    ซึ่งได้แก่สารที่เป็นต้นกำเนิดของ DNA และ RNA รวมทั้งฮีสโตน (Histones) และโปรตีนในไรโบโซม (Ribosomal Proteins)      ส่วนสารที่ออกมาได้แก่ RNA (mRNA และ tRNA) และ ไรโบโซม (Ribosomal subunits)

ส่วนของเยื่อหุ้มนิวเคลียส  บางส่วนจะติดอยู่กับเอนโดพลาสมิค  เรตติคิวลัมภายในเยื่อหุ้มจะมีนิวคลีโอพลาสต์  (Nucleoplast)    ซึ่งมีโครโมโซมและนิวคลีโอลัส (Chromosome และ Nucleolus) ฝังตัวอยู่ภายใน ซึ่งในขณะที่เซลล์ไม่มีการแบ่ง จะมองเห็นโครโมโซมไม่ชัดเจนและมีลักษณะยาวเรียกว่าโครมาติน (Chromatin) บนโครโมโซมจะมีข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งใช้ในการควบคุม      กิจกรรมของเซลล์  จำนวนของโครโมโซมในเซลล์ของพืชแต่ละชนิดจะคงที่ แต่จะผันแปรจากพืชชนิดหนึ่งไปยังพืชอีกชนิดหนึ่ง  ในเซลล์ปกติธรรมดาจะมีโครโมโซม 2 ชุดที่เหมือนกันเรียกว่า ดิบพลอยด์ (Diploid)     แต่อย่างไรก็ตามพืชชั้นสูงอาจจะมีโครโมโซมมากกว่า 2 ชุดได้ เรียกว่าเป็น โพลีพลอยด์ (Polyploid)  ส่วนเซลล์สืบพันธุ์จะมีโครโมโซมอยู่ 1 ชุดเรียกว่า แฮบพลอยด์ (Haploid)

โครโมโซมประกอบด้วย  DNA  และโปรตีนฮีสโตน   ในปริมาณพอ ๆ  กัน   ฮีสโตนเป็นโปรตีนที่มีโมเลกุลเล็กประกอบด้วย กรดอะมิโนพวกไลซีนและอาร์จีนีนอยู่มาก      จึงมีประจุเป็นบวกเมื่อความเป็นกรดด่างเท่ากับ  7   การที่มีประจุบวกนี้ทำให้เกาะอยู่กับ DNA ซึ่งมีประจุลบอยู่ที่ฟอสเฟตได้ โครโมโซมแต่ละอันประกอบด้วย โมเลกุลของ DNA  ที่ต่อกันยาวมาก และมีฮีสโตนหลายล้านโมเลกุลที่ DNA ของโครโมโซมจะประกอบด้วยข้อมูลซึ่งควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ของเซลล์เรียกว่า ยีนส์ (genes) ซึ่งมีจำนวนมากในแต่ละโครโมโซม   ยีนส์ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์  (Nucleotide Residue) หลายหน่วย

นิวเคลียสมีหน้าที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต   ควบคุมกิจกรรมของเซลล์ให้เป็นไปตามปกติ ในระดับเซลล์นิวเคลียสทำหน้าที่สังเคราะห์ DNA และ RNA ซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมผ่านมาทางการสร้างโปรตีน             โครโมโซมทำหน้าที่ควบคุมการสังเคราะห์ mRNA และนิวคลีโอลัสทำหน้าที่สังเคราะห์ rRNA

  1. เอนโดพลาสมิค เรตติคิวลัม (Endoplasmic Reticulum) เป็นท่อเมมเบรน ซึ่งต่อกันตลอดทั้งไซโตพลาสต์ และยังต่อกับเยื่อหุ้มนิวเคลียสด้วย แต่จะไม่ต่อกับเยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้มแวคคิวโอ เอนโดพลาสมิค เรตติคิวลัมของเซลล์ที่ติดกันจะต่อกันทางพลาสโมเดสมาตาเป็นอวัยวะภายในเซลล์ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกอลไจ แอพพาราตัส ทำหน้าที่เป็นท่อขนส่งสาร ต่าง ๆ และอาจจะสะสมสารบางอย่างได้ด้วย เอนโดพลาสมิค เรตติคิวลัมอาจจะมีไรโบโซมมาเกาะติดในเซลล์ที่มีกิจกรรมสูงสร้างโปรตีนมากจะมีเอนโดพลาสมิค เรตติคิวลัมชนิดนี้อยู่มาก
  2. กอลไจ แอพพาราตัส (Golgi Apparatus) อวัยวะชนิดนี้ประกอบด้วยหน่วยย่อยเรียกว่ากอลไจ บอดีส์ (Golgi Bodies) หรือดิ๊กตีโอโซมส์ (Dictyosomes) ซึ่งแต่ละหน่วยย่อยนี้เป็นถุงของเยื่อ เมมเบรนแบน ๆ เรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นเรียกว่า ซีสเตอนี่ (Cisternae) ซึ่งมักจะมี 4-8 ชั้น แต่ละชั้นจะมีลักษณะคล้ายจานและมีเวสซิเคิล (Vesicle) อยู่ ปลายซีสเตอล่างสุดของดิ๊กตีโอโซมจะเรียงขนานอยู่กับเอนโดพลาสมิค เรตติคิวลัม จึงเป็นที่คาดกันว่าซีสตีนี่แต่ละชั้นเกิดมาจากเอนโดพลาสมิค  เรตติคิวลัมและชั้นที่อยู่บนสุดจะมีอายุมากที่สุด      ซึ่งในที่สุดจะกลายเป็น  เวสซิเคิลจนหมด เวสซิเคิลของซีสเตอชั้นบนจะเคลื่อนไปรวมกับเยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้มแวคคิวโอ

สารประกอบที่เกิดในซีสเตอมีหลายชนิดเช่น สารประกอบคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน  กอลไจ แอพพาราตัสจะเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรต เช่น การเจริญของผนังเซลล์   โดยจะทำหน้าที่สร้างผนังเซลล์ในขณะที่มีการแบ่งเซลล์เกิดขึ้นหรือในขณะที่สร้างผนังเซลล์ชั้นที่สอง    นอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับการเจริญของเยื่อหุ้มเซลล์ด้วย
ในการสังเคราะห์ผนังเซลล์ใหม่เมื่อมีการแบ่งเซลล์แบบไมโตซิส  (Mitosis) ซึ่งจะเกิดเซลล์เพลท (Cell plate) ขึ้นนั้น         เมื่อโครโมโซมแยกออกจากกันแล้วจะมีเวสซิเคิลของกอลไจ

แอพพารากัสขนาดประมาณ 100 nm ซึ่งมีสารประกอบคาร์โบไฮเดรตภายในไปเรียงอยู่บริเวณที่จะเกิดเซลล์ และจากนั้นเวสซิเคิลจะปล่อยคาร์โบไฮเดรตออกมาตรงบริเวณนั้นกลายเป็นผนังเซลล์ใหม่  ส่วนเยื่อหุ้มเวสซิเคิลจะกลายเป็นเยื่อหุ้มของเซลล์ใหม่

  1. ไมโครบอดี้ส์ (Microbodies) ในระยะ 15 ปีที่ผ่านมาพบว่ามีอวัยวะภายในเซลล์ขนาดเล็กที่ต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อีเลคตรอน อวัยวะเหล่านี้มีรูปร่างกลมหรือรี มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.2-1.5 ไมโครเมตรและหุ้มห่อด้วยเยื่อหุ้ม 1 ชั้น ภายในมีเอนไซม์อยู่ เช่น คะตาเลส เป็นต้น ในปัจจุบันศึกษาไมโครบอดี้ส์กันมาก ๆ อยู่  2  ชนิด  คือ  เพอรอกซิโซมส์  (Peroxisomes) ซึ่งพบในเซลล์ของพืช C3 มีประมาณ 1/2-1/3  ของจำนวนคลอโรพลาสต์    ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการหายใจในที่มีแสง (Photorespiration) แต่ไม่พบในพืช C4 ไมโครบอดี้ส์อีกชนิดที่พบมากคือไกลออกซิโซมส์ (Glyoxysomes) ซึ่งพบในเซลล์ของเอนโดสเปิร์ม  หรือใบเลี้ยงที่มีการสะสมไขมันมาก ๆ ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนไขมันให้เป็นคาร์โบไฮเดรต ภายในมีเอนไซม์หลายชนิด
  2. ไรโบโซม (Ribosome) เป็นอวัยวะภายในเซลล์ที่มีขนาดเล็กมีขนาดประมาณ 17-23 nm  ซึ่งมองไม่เห็นด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา เกิดอยู่เป็นอิสระและเกิดรวมอยู่กับเยื่อหุ้มเช่นรวมกับเอนโดพลาสมิคเรตติคิวลัม   ไรโบโซมซึ่งรวมเป็นกลุ่มหรือเป็นสายโดยมี  rRNA    เชื่อมอยู่เรียกว่า   โพลีไรโบโซม  (Polyribosome)  หรือโพลีโซม (Polysome)   ไรโบโซมทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีนเพราะเป็นบริเวณที่กรดอะมิโน (Amino acid)  มาต่อกันเกิดเป็นลูกโซ่ของโพลีเพปไทด์  (Polypeptide chain) ไรโบโซมมี 3 ชนิด เกิดในที่ต่าง ๆ กัน คือ ไซโตพลาสต์     ไมโตคอนเดรีย  และ คลอโรพลาสต์        ไรโบโซมของไซโตพลาสต์ประกอบด้วย 2 subunits  ซึ่งมีขนาดใหญ่และเล็กซึ่งมี Sedimentation constant ที่ 60 S และ 40 S ตามลำดับ  ซึ่งแยกจากกันได้เมื่อในเซลล์มีประจุของ Mg+2 ต่ำเกินไป  ระหว่างหน่วย 40 S และ 60 S มีช่องว่างให้ mRNA และ tRNA มาเกาะระหว่างการสังเคราะห์โปรตีน             ส่วนประกอบทางเคมีของไรโบโซมเป็น RNA ชนิด rRNA และโปรตีนโดย 60 S จะมี rRNA 3 โมเลกุล ส่วน 40 S มีเพียง 1 rRNA และทั้งสอง subunit มีโปรตีน 45-50 เปอร์เซ็นต์
  3. ไมโครทิวบูลส์ (Microtubules) เป็นอวัยวะในเซลล์พืชซึ่งพบในเซลล์พืชในปี 1962 ประกอบด้วยท่อตรงๆ ซึ่งมีความยาวไม่แน่นอน เส้นผ่าศูนย์กลาง 24-25 nm มีผนังหนา 5-6 nm และเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน 12 nm มักจะอยู่รวมเป็นกลุ่ม  ผนังประกอบด้วยหน่วยย่อยซึ่งมี  รูปร่างกลม  13 หน่วย แต่ละหน่วยมีเส้นผ่าศูนย์กลาง  5  nm โดยเรียงกันมีลักษณะเป็น helix หน่วยย่อยนี้เป็นโปรตีนที่เรียกว่า ทาบูลิน  (Tabulin) หน้าที่ของไมโครทิวบูลส์คือ นำการเคลื่อนที่ของอวัยวะอื่น ๆ ภายในเซลล์ เช่น เวสซิเคิลของกอลไจ แอพพาราตัส และเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์   ควบคุมการเรียงตัวของไมโครไฟบริลของผนังเซลล์ให้ถูกต้อง  โดยไมโครทิวบูลส์จะเรียงตัวขนานกับไมโครไฟบริลเสมอ        นอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับเซลล์ที่เคลื่อนที่ได้เพราะเป็นส่วนประกอบของแฟลคเจลลา (Flagella) และซีเลีย (Cilia)  ในการแบ่งเซลล์ไมโครทิวบูลล์จะทำหน้าที่เป็น Spindle fiber
  4. แวคคิวโอ (Vacuole) เป็นอวัยวะของเซลล์พืชซึ่งทำหน้าที่เหมือนกับไลโซโซม (Lysosomes) ของสัตว์ เป็นอวัยวะที่มีเยื่อหุ้มที่เรียกว่าโทโนพลาสต์ (Tonoplast)  เมื่อเซลล์มีขนาดเล็กจะมีจำนวนมากแต่เมื่อเซลล์เจริญเต็มที่แวคคิวโอจะมารวมกันเป็นหน่วยเดียวมีขนาดใหญ่    ภายในแวคคิวโอมีเอนไซม์หลายชนิด เช่น ไฮโดรไลติก เอนไซม์  (Hydrolytic emzymes) นอกจากนั้นอาจจะสะสมสารอื่น ๆ เช่น  รงควัตถุในกลุ่มแอนโธไซยานิน  (Anthocyanins) ซึ่งมีสีแดง ม่วง     น้ำเงิน  ชมพู และขาว เป็นต้น และยังมีแทนนิน (Tannin) โปรตีนและกัม (Gum) เนื่องจากมีสารประกอบต่าง ๆ ละลายหรืออยู่ในแวคคิวโอจำนวนมาก  ทำให้แวคคิวโอสามารถช่วยรักษาความเต่งของเซลล์ไว้ได้และยังช่วยให้เซลล์ขยายตัวได้ด้วย

คุณสมบัติสำคัญของกรดฟุลวิค

Major attributes of Fulvic acid  สารอิเลคโตรไลต์ดีที่สุดที่โลกเคยมี

 

โดยคำจำกัดความ “กรดฟุลวิคเป็นสารอินทรีย์ธรรมชาติน้ำหนักโมเลกุลต่ำที่ละลายน้ำได้เกิดจากฮิวมัสพบในน้ำผิวดิน(surface water) เช่นแม่น้ำลำธารลำคลองหนองบึงทั่วๆไป”-จากสมาคมคุณภาพน้ำสหรัฐฯ (Water Quality Association USA)กรดฟุลวิคเป็นสารอีเลคโตรไลต์อินทรีย์ธรรมชาติที่ดีที่สุดในโลก (คือสารที่เมื่อละลายอยู่ในตัวกลางใดๆที่เป็นของเหลวเช่น น้ำจะสามารถนำกระแสไฟฟ้าได้ กรด ด่าง และเกลือทั้งหลายจึงเป็นสารอีเลคโตรไลต์ได้ทั้งสิ้น) สามารถสร้างดุลย์ภาพและกระตุ้นคุณสมบัติทางชีวะวิทยาต่อสารที่มาผลมด้วย สารอีเลคโตรไลต์จึงเป็นสารที่ละลายน้ำหรือกับตัวกลางอื่นที่เหมาะสมแล้วสามารถนำหรือเป็นสื่อกระแสไฟฟ้าได้

อำนาจของอีเลคโตรไลต์สามารถแสดงให้เห็นได้ในการทดลองที่ทำซ้ำแล้วซ้ำอีกกับเซลล์ของสัตว์เซลล์เดียวขนาดใหญ่ได้แก่ แอมมีบ้าขนาดใหญ่ Giant amoeba ที่สามารถฟื้นคืนชีพได้ตามคำพูดที่นักค้นคว้ากล่าว “ปรากฏการณ์ที่สวยงาม” และ “มหัศจรรย์” เมื่ออีเลคโตรไลต์ที่สำคัญถูกแยกออกไปในระหว่างการทดลอง เซลล์ของแอมมีบ้านี้จะแตกออกและกระจัดกระจายไปทั่วในของเหลวที่มันอยู่นั้นและตายในที่สุด แต่หลังจากนั้นเมื่อมีการใส่สารอีเลคโตรไลต์เข้าไปใหม่เซลล์ของสัตว์นี้ก็ก่อตัวขึ้นมาได้เองอีกเช่นเดิมดังปาฏิหารย์ทั้งสมบูรณ์และแข็งแรง

ได้มีการพิศูจน์ให้เห็นจริงในการศึกษาว่าผลเช่นเดียวกันนี้ ก็เกิดขึ้นได้ในโรคที่ให้อาการอ่อนเพลียที่เป็นกับมนุษย์ซึ่งเนื่องมาจากการเสียเลือดโดยไม่ทราบสาเหตุหรือจากความเครียดรุนแรง การติดเชื้อที่ควบคุมไม่ได้ การขาดอาหาร นอนไม่หลับมาเป็นเวลานานต่อเนื่อง อาการช็อกเนื่องจากการผ่าตัด ตัวอย่างทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะร่วมด้วยการลดลงของศักยภาพในการให้อีเลคโตรไลต์ซึ่งจะลดลงเหลือสูญเมื่อตาย การศึกษาเหล่านี้ทำให้เชื่อได้ว่าสรีระวิทยาปกติของพืช สัตว์ และมนุษย์ต่างก็ขึ้นกับศักยภาพในการผลิตอีเลคโตรไลต์ที่เหมาะสมนี้

กรดฟุลวิคได้รับการพิศูจน์ว่าเป็นสารอินทรีย์อีเลคโตรไลต์ตัวหนี่งที่ทรงพลังทำหน้าที่รักษาสมดุลย์ชีวิตของเซลล์ ถ้าเซลล์แต่ละเซลล์ได้รับการฟื้นฟูสู่สภาพปกติทางเคมีคือเกิดอีเลคโตรไลต์ได้ นั่นก็หมายความว่าเราได้คืนชีวิตให้แก่สรรพสิ่งที่จะต้องตายหรือแตกสลายไปตามปกติซึ่งย่อมเกิดขึ้นในเซลล์ของสัตว์และพืชทั้งหลาย  กรดฟุลวิคมีความสามารถดีเยี่ยมในการบรรลุผลดังกล่าวได้หลายวิธี

ช่วยให้เกิดสมดุลย์ทางเคมีไฟฟ้าโดยเป็นทั้งตัวให้และตัวรับประจุไฟฟ้า     

กรดฟุลวิคจะพร้อมเป็นตัวให้หรือตัวรับประจุไฟฟ้าเมื่อใดก็ตามขึ้นอยู่กับความต้องการความสมดุลย์ของเซลล์นั้นๆ ปฏิกริยาที่เกิดขึ้นเสมอๆจะเป็นปฏิกริยาอ๊อกซิเดชั่น(oxidation) ซึ่งปฏิกริยาดังกล่าวสารเคมีนั้นจะเป็นผู้ให้อีเลคตรอน(donor) ส่วนอีกปฏิกริยาหนึ่งคือรีดัคชั่น(reduction)ซึ่งเป็นปฏิกริยาที่สารเคมีนั้นจะเป็นผู้รับอีเลคตรอนเรียกว่าตัวรับ(acceptor)การศึกษาปัจจุบันในเรื่องการผนวกโมเลกุลของตัวจ่ายอีเลคตรอนเข้ากับกรดฟุลวิคในสารละลายเผยให้เห็นหลักฐานโดยตรงสำหรับกลไกในการแปลงประจุของตัวจ่ายและตัวรับอีเลคตรอน  จุลธาตุในอีเลคโตรไลต์ของกรดฟุลวิคก็จะได้ประโยชน์ในกระบวนการนี้ไปพร้อมๆกันโดยทำหน้าที่เป็นขั้วไฟฟ้า

สารขจัดและต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติที่ทรงพลังมากที่สุด

อนุมูลอิสระของกรดฟุลวิคทำหน้าที่เป็นทั้งเป็นตัวให้และตัวรับอีเลคตรอนขึ้นกับสถานะการณ์ที่ต้องการความสมดุลย์ กรดฟุลวิคจึงมีส่วนในปฏิกริยาอ๊อกซิเดชั่นและรีดักชั่นกับปฏิกริยาการแปลงธาตุโลหะได้  จึงจัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติที่ทรงพลังมากที่สุดเท่าที่โลกได้รู้จัก สารนี้มีความสามารถพิเศษในการทำปฏิกริยากับทั้งประจุบวกหรือประจุลบ   ทำให้อนุมูลอิสระนั้นๆไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยสามารถเปลี่ยนอนุมูลอิสระเหล่านี้ไปเป็นสารประกอบตัวใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายหรือขจัดออกไปเป็นของเสีย นอกจากนั้นกรดฟุลวิคนี้ยังสามารถขจัดธาตุโลหะหนักและทำลายสารพิษได้โดยวิธีเดียวกัน

สร้างสารเชิงซ้อนและละลายเกลือแร่และจุลธาตุ

กรดฟุลวิคออกฤทธิ์เป็นพิเศษในการละลายเกลือแร่และธาตุโลหะเมื่อสารละลายนั้นอยู่ในน้ำ  เกลือแร่ที่เป็นธาตุโลหะเมื่อละลายจะแตกตัวอยู่ในรูปไออ้อน (Ion; คืออนุภาคที่นำประจุไฟฟ้าได้ประกอบด้วยอะตอมหรือกลุ่มของอะตอมที่ประกอบกันเป็นโมเลกุลก็ได้)แล้วหายไปจากสารละลายนั้นๆแต่เข้ารวมตัวอยู่กับโครงสร้างของกรดฟุลวิคกลายเป็นสารชีวะเคมีที่ออกฤทธิ์และเคลื่อนได้ โดยแท้จริงแล้วกรดฟุลวิคจะแปลงเกลือแร่และโลหะหนักเหล่านี้ ไปสู่สารเชิงซ้อนกับโมเลกุลของกรดฟุลวิคอย่างปราณีตและมีคุณสมบัติแตกต่างไปจากรูปแบบเกลือแร่โลหะเดิมโดยสิ้นเชิง

กรดฟุลวิคจึงเป็นสิ่งที่ธรรมชาติใช้ในการกำบังเกลือแร่โลหะต่างๆแล้วเปลี่ยนไปสู่อีกรูปแบบหนึ่งของชีวะสารพร้อมใช้ที่สามารถดูดซึมได้ง่ายๆ นอกจากนั้นกรดฟุลวิคยังมีความสามารถเป็นเลิศในการทนทานต่อซิลิก้าและละลายสารนี้ได้เมื่อต้องมาสัมผัสกัน

ช่วยเสริมธาตุอาหาร

กรดฟุลวิคช่วยให้สารอาหารพืชเกิดความพร้อมใช้และทำให้ดูดซึมได้ง่ายยิ่งขึ้น ยอมให้เกลือแร่ต่างๆก่อตัวขึ้นใหม่และยืดเวลาให้สารอาหารที่จำเป็นสำหรับพึช ช่วยเตรียมเกลือแร่ต่างๆให้ทำปฏิกริยากับเซลล์และยอมให้เกลือแร่ทำปฏิกริยาซึ่งกันและกันแล้วแตกตัวออกอยู่ในรูปของไออ้อนเล็กสุดแล้วถูกทำให้หมดฤทธิ์ยึดติดอยู่กับกรดฟุลวิค(chelation)ด้วยอีเลคโตรไลต์ของกรดนี้

ช่วยขนส่งธาตุอาหาร(Transport Nutrients)

กรดฟุลวิคสร้างสารเชิงซ้อนกับเกลือแร่และธาตุโลหะทำให้เป็นสารพร้อมใช้สำหรับรากพืชและง่ายต่อการถูกดูดซึมผ่านผนังเซลล์ได้อย่างง่ายๆ ทำให้เกลือแร่เช่นธาตุเหล็กซึ่งเคลื่อนยากสามารถขนส่งผ่านโครงสร้างของพืชได้เป็นอย่างดี กรดนี้ยังสามารถละลายและเคลื่อนย้ายวิตามิน โคเอนไซม์, อ๊อกซิน, ฮอร์โมนต่างๆ และสารปฏิชีวนะธรรมชาติซึ่งพบได้ทั่วๆไปในดินให้อยู่ในลักษณะพรัอมใช้สำหรับพืช

สารดังกล่าวเหล่านี้มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นให้พืชเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์และแข็งแรง  ช่วยให้เกิดแบคทีเรีย เชื้อรา และแอคติโนไมซิสเพื่อย่อยสลายซากพืชในดิน เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าไวตามินที่เรารู้จักทั้งหลายมีปรากฏอยู่ในดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วย(๒๐)

พืชสร้างไวตามินหลายชนิดด้วยตัวเอง แม้กระนั้นไวตามินต่างๆจากดินก็เป็นอาหารเสริมให้แก่พืชได้ด้วย ในการย่อยอาหารทั้งมนุษย์และสัตว์ก็สามารถย่อยอาหารเหล่านี้และดูดซึมได้เป็นอย่างดี เนื่องจากความจริงที่ว่าสารอาหารเหล่านี้อยู่ในรูปของพืชตามธรรมชาติอย่างสมบูรณ์แบบ กรดฟุลวิคสามารถขนส่งแร่ธาตุต่างๆในสารละลายได้หลายเท่าของน้ำหนักตัวมันเอง

ช่วยเร่งปฏิกริยาของเอนไซม์ (Catalyzes Enzyme Reactions)

กรดฟุลวิคมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเอนไซม์  จะทำหน้าที่ช่วยเร่งการทำงานของเอนไซม์โดยเฉพาะต่อสารเร่งปฏิกริยา(catalysts)การใช้อากาศของพืช นอกจากนั้นกรดนี้ยังช่วยเพิ่มการทำงานเอนไซม์หลายชนิดได้แก่ อัลคาไลน์ฟอสฟาเตส(alkaline phosphatases) ทรานซ์แอมไมเนส์(transaminase) และอินเวอรเตซ(invertase)

เพิ่มการสร้างอาหารของพืช (Increases Assimilation)

สารเชิงซ้อนธาตุโลหะในรูปของสารอินทรีย์ของกรดฟุลวิคมีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ  ขนาดโมเลกุลเล็กจึงสามารถแทรกซึมผ่านผนังเซลล์ได้เป็นอย่างดีสารเชิงซ้อนกรดฟุลวิคและการทำหน้าที่เป็นโล่ห์กำบังสารพิษของกรดนี้ทำให้สารนี้สามารถนำพาส่ารอาหารผ่านผนังเซลล์ได้ทั้งหมด สิ่งสำคัญที่ควรทราบก็คือได้มีการพิศูจน์ทราบว่ากรดฟุลวิคนั้นไม่เพียงแต่จะขนส่งสารอาหารได้เท่านั้นแต่ยังกระตุ้นผนังเซลล์และหน้าที่ทางด้านสรีระวิทยาต่างๆของเซลล์ให้ทำงานได้อีกด้วย

 กระตุ้นการเมตาโบลิสซึ่ม(Stimulates Metabolism)

กรดฟุลวิคเป็นตัวกระตุ้นกลไกด้านพันธุกรรมของพืชให้ทำงานในระดับที่สูงขื้น ได้มีการสรุปว่าเมื่อเซลล์พืชได้รับกรดฟุลวิคจะสามารถเจริญเติบโตได้ดีกว่าเดิม การรับอ๊อกซิเจนจะรับได้เข้มข้นขึ้นในที่มีกรดฟุลวิคร่วมด้วย กรดนี้ช่วยให้มีการซึมผ่านรากพืชได้ดี จึงข่วยแก้ปัญหาการขาดอ๊อกซิเจนของราก ช่วยเพิ่มการทำหน้าที่สำคัญๆของเซลล์ ช่วยเปลี่ยนรูปแบบของการเมตาโบลิสซึ่มของคาโบไฮเดรตเป็นผลให้มีการสะสมน้ำตาลที่ละลายน้ำได้เพิ่มขึ้น น้ำตาลละลายน้ำได้นี้จะช่วยเพิ่มแรงดันอ๊อสโมซิสภายในผนังเซลล์ทำให้พืชไม่เหี่ยวเฉาง่าย ซึ่งก็จะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตต่อระบบภูมิคุ้มกันของพืชด้วย

ทำลายพิษที่เกิดจากมลภาวะ(Detoxified Pollutants

ด้านหนึ่งที่สำคัญของกรดฟุลวิคเกี่ยวกับการทำปฏิกริยาภายในเมื่อมีการดูดซึมแล้วกับสารเคมีในสภาวะแวดล้อมทั้งก่อนหน้าหรือภายหลังที่ความเข้มข้นได้เข้าสู่ระดับเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตก็ตาม กรดฟุลวิคจะทำลายความเป็นพิษของยาฆ่าวัชพืช พารากอตParaquatได้อย่างรวดเร็ว  นับได้ว่ากรดนี้มีหน้าที่พิเศษสำหรับขจัดอันตรายถึงตายจากสารพิษที่ใช้ลงสู่ดินเพื่อกำจัดแมลงได้ (๓๕)

กรดฟุลวิคมีความสำคัญในการช่วยก่อไออ้อนโลหะชนิดใหม่ๆแล้วรวมตัวกับมลภาวะที่เป็นอินทรีย์สารเช่นยาฆ่าแมลงและยาฆ่าวัชพืชและยังเร่งการสลายตัวของมลภาวะที่เป็นพิษอีกด้วยสารกัมมันตภาพรังษีต่างๆจะทำปฏิกริยาอย่างรวดเร็วกับกรดฟุลวิคและด้วยเวลาอันสั้นเท่านั้นที่จะทำให้พิษนั้นๆหมดไป  ธาตุที่เป็นกัมมันตภาพรังสีทั้งหมดจะสามารถทำปฏิกริยากับกรดฟุลวิคได้แล้วก่อตัวขึ้นเป็นสารเชิงซ้อนโลหะ-อินทรีย์หลายชนิดที่มีการดูดซึมที่เสถียรและการละลายได้ที่แตกต่างกันออกไป

ละลายซิลิก้า(Dissolves Silica)

กรดฟุลวิคมีความสำคัญเป็นพิเศษเพราะว่าสามารถสร้างสารเชิงซ้อนกับไออ้อนโลหะหรือทำหน้าที่เป็นโล่ห์กำบังไออ้อนโลหะหลายชนิดและทำปฏิกริยาซึ่งกันและกันกับซิลิก้า  นอกจากนั้นยังได้มีการแสดงให้เห็นว่าการทำปฏิกริยาภายในซึงกันและกันเหล่านี้ทำให้เพิ่มความเข้มข้นของไออ้อนโลหะและซิลิก้าในสารละลายที่มีน้ำเป็นตัวกลางสูงมากเกินกว่าที่สารเหล่านี้ควรจะละลายได้จริงๆ

การสังเคราะห์ (Synthesis or Transmutation)

สารเชิงซ้อนที่เกิดกับกรดฟุลวิคมีความสามารถในการทำปฏิกริยาทางชีวะวิทยาซึ่งกันและกันทำให้เกิดแร่ตัวใหม่ได้ การแปลงซิลิก้าจากพืชและแมกเนเซี่ยมให้เกิดเป็นแคลเซี่ยมในกระดูกของสัตว์และมนุษย์จัดได้ว่าเป็นแบบอย่างของการสังเคราะห์แร่ใหม่

ช่วยให้มีการแบ่งต้วของเซลล์และการขยายตัวตามยาว(Enhances Cell Division and Elongation)

กรดฟุลวิคกระตุ้นและสร้างสมดุลย์ให้แก่เซลล์ ช่วยสร้างการเจริญเติบโตและภาวะการจำลองแบบ

ช่วยให้มีการซึมผ่านเยื่อบางๆของผนังเซลล์ (Enhances the Permeability of Cells Membrane)

กรดฟุลวิคทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นเซลล์เฉพาะชนิดและช่วยเพิ่มการซึมผ่านผนังบางๆของเซลล์

เพิ่มการเมตาโบลิสซึมของโปรตีน(Increases Metabolism of Proteins)

กรดฟุลวิคเพิ่มการเมตาโบลิสซึมของโปรตีน ย่อมเป็นการเพิ่มองค์ประกอบดีเอนเอ(DNA)ภายในเซลล์อย่างแท้จริงในขณะเดียวกันก็เพิ่มอัตราการสังเคราะห์อาร์เอนเอ(RNA) ไปพร้อมกัน

 

เร่งการสร้างไวตามินภายในเซลล์ (Catalyzes Vitamins within the Cells)

กรดฟุลวิคมีความสามารถในการสร้างสารเชิงซ้อนไวตามินกับโครงสร้างโมเลกุลของมันเองทำให้กรดนี้เข้าสู่เซลล์ในลักษณะรวมตัวกับเกลือแร่เชิงซ้อน ในภาวะธรรมชาติที่สมบูรณ์แบบนี้สารเชิงซ้อนดังกล่าวจึงสามารถถูกเร่งปฏิกริยาและใช้ประโยชน์ภายในเซลล์ได้ ซึ่งตามปกติไวตามินที่ขาดจุลธาตุอย่างเพียงพอจะไม่สามารถออกฤทธิ์ได้อย่างเหมาะสม (แต่ในกรณีนี้จุลธาตุที่เหมาะสมมีปรากฏอยู่ภายในโมเลกุลของฟุลวิคเรียบร้อยแล้วดังกล่าวข้างต้น)

ทำหน้าที่เป็นโล่ห์กำบังธาตุโมโนวาเลนท์และไดวาเลนทั้งหมดได้ (Chelates All Monovalent & Divalent Elements to Which It Is Exposed)

กรดฟุลวิคมีอำนาจในการสร้างสารเชิงซ้อนเสถียรที่ละลายน้ำได้กับไออ้อนโลหะต่างวาเลนซี่เช่นโมโนวาเลนท์(monovalent) ไดวาเลนท์(divalent) ไตรวาเลนท์(trivalent) และโปลีวาเลนท์(polyvalent)ได้ นอกจากนั้นกรดฟุลวิคนี้ยังช่วยให้มีการเคลื่อนไออ้อนโลหะซึ่งโดยปกติยากต่อการเคลื่อนย้ายหรือขนส่ง  กรดนี้จึงเป็นโล่ห์กำบังตามธรรมชาติ และเป็นตัวแลกประจุบวกที่ดีเยี่ยม และมีความสำคัญอย่างยิ่งในการโภชนาการของเซลล์